ลักษณะ
 
ปลากัดถูกจัดอยู่ในอันดับ (Order) Perciformes
ครอบครัว (Family) Belontiidae
ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Betta splendens Regan

. . . เป็นปลาพื้นเมืองของไทย พบแพร่กระจายทั่วไปทุกภาคของประเทศไทย อาศัยอยู่ในอ่างเก็บน้ำ ทะเลสาบ หนอง บึง แอ่งน้ำ ลำคลอง ฯลฯ ในบริเวณที่มีระดับน้ำตื้น ๆ น้ำค่อนข้างใส น้ำนิ่งหรือไหลเอื่อย ๆ มีพันธุ์ไม้น้ำขึ้นประปรายชอบว่ายน้ำช้า ๆ บริเวณผิวน้ำ

เป็นปลาที่มีขนาดเล็ก ลำตัวยาว แบนข้าง หัวเล็ก ปากขนาดเล็กเชิดขึ้นด้านบนเล็กน้อย มีฟันที่ขากรรไกรบน และขากรรล่าง มีเกล็ดปกคลุมหัวและลำตัว ความยาวจาก ปลายจงอยถึงโคนหางยาว 2.9 - 3.3 เท่าของความกว้างลำตัว และ 3.0-3.3 เท่าของความยาวหัว จุดเริ่มต้นของครีบหลังอยู่ค่อนไปทางด้านหาง หลังจุดเริ่มต้นของครีบก้น ครีบหลังมีก้านครีบเดี่ยว 1-2 ก้าน ก้านครีบแขนง 7-9 ก้าน ครีบก้นมีฐานครีบยาวมาก เริ่มจากครีบท้องไปสุดที่โคนครีบ หาง มีก้านครีบเดี่ยว 2-4 ก้าน และก้านครีบแขนง 21-24 ก้าน ครีบอกมีขนาดเล็กกว่าครีบอื่น ๆ ปลากัดไม่มีเส้นข้างตัว กระดูกที่อยู่ด้านหน้าของตา ( Preorbital ) มีขอบเรียบ

มีอวัยวะพิเศษช่วยในการหายใจนอกจากเหงือก เรียก Labyrinth organ อยู่ในโพรงอากาศหลังช่องเหงือก มีลักษณะ เป็นเนื้อเยื่อที่มีรอยยักและมีเส้นเลือดฝอยมาหล่อเลี้ยงมากมาย แต่ในปลาวัยอ่อนจะไม่พบอวัยวะช่วยหายใจดังกล่าว จะเริ่มเกิดเมื่อปลามีอายุ 10 วัน จากการที่ปลากัดต้องใช้อวัยวะช่วยในการหายใจ ทำให้ปลาต้องโพล่ขึ้นมาฮุบอากาศที่ผิวน้ำเสมอ และจากสาเหตุนี้ทำให้ปลากัดสามารถอยู่ในน้ำที่ไม่มี ออกซิเจนได้

 

. . . ปลากัดมีนิสัยก้าวร้าว ปลาเพศผู้จะต่อสู้กันและชอบทำร้ายปลาเพศเมียในเวลาผสมพันธุ์ แต่ในปลาวัยอ่อนยังไม่พบว่ามีพฤติกรรมก้าวร้าว ปลาเริ่มแสดงนิสัยจวบยก้าวร้าวเมื่ออายุได้ 1.5 - 2 เดือน และจากลักษณะนิสัยนี้เองทำให้ประเทศไทยมีประวัติการใช้ปลากัดต่อสู้กันทั้งเพื่อเกมกีฬา และการพนัน จนเป็นที่รู้จักกันทั่วโลกมานับร้อยปีแล้ว ในการเลี้ยงปลากัดเพื่อ ต่อสู้นั้นมีการคัดเลือกพันธุ์ให้มีคุณสมบัติเฉพาะที่สามารถใช้ในการต่อสู้

. . . โดยเริ่มต้นจากการรวบรวมปลาจากแหล่งน้ำธรรมชาติที่เรียกกันว่า ปลากัดป่า หรือปลากัดทุ่ง ที่มีลำตัวค่อนข้างเล็กบอบบาง สีน้ำตาลขุ่น หรือเทาแกมเขียว นำมาเพาะเลี้ยงและคัดพันธุ์หลายชั่วอายุ จนได้ปลาที่มีรูปร่างแข็งแรง ลำตัวหนาและใหญ่ขึ้น ว่ายน้ำปราดเปรียว สีสันสวยสด เช่น สีแดงเข้ม น้ำเงินเข้ม น้ำตาลเข้ม หรือสีผสมระหว่างสีดังกล่าว และเรียกปลากัดที่ได้จากการคัดพันธุ์เพื่อการต่อสู้นี้ว่า ปลากัดหม้อ ปลากัดลูกหม้อ หรือปลากัดไทย มีผู้พยายาม คัดพันธุ์ปลากัดโดยเน้นความสวยงามเพื่อเลี้ยงไว้ดูเล่น โดยคัดพันธุ์เพื่อให้ได้ปลาที่มีครีบยาว สีสวย จนปัจจุบันประเทศไทยสามารถผลิตปลากัดที่มีสีสัน สดสวยมากมายหลายสี เช่น เขียว ม่วง แดง น้ำเงิน ฯลฯ

 

. . . กับความยาวลำตัวและหัวรวมกัน ซึ่งนิยมเรียกปลากัดลักษระเช่นนี้ว่า ปลากัดจีน หรือปลากัดเขมร ต่างประเทศรู้จักปลากัดในนาม " Siamese Fighting Fish " ปัจจุบันปลากัดเป็นปลาที่สามารถส่งขายต่างประเทศนำรายได้เข้าประเทศเป็นอันดับหนึ่งของปลาไทยทั้งหมด เพราะนอกจากจะเป็นปลาที่มีสีสันสดสวย ครีบยาวพริ้วสวยงามแล้วยังมีคุณสมบัติ ในเชิงต่อสู้เพื่อความตื่นเต้นให้แก่ผู้เลี้ยงอีกด้วย
     
     
ปลากัดลูกทุ่ง | ปลากัดลูกหม้อ | ปลากัดลูกผสม
อาหารที่ใช้เลี้ยงปลากัด | การเลี้ยงเพื่อการแข่งขัน | การเพราะเลี้ยงลูกน้ำ | การเพาะเลี้ยงไรแดง
     
     
@ Copyright by thaibetta