|
ประวัติ์ปลากัด
|
|
|
|
|
|
 |
|
. . . . ปลากัด (Betta splendens
Regan)
เป็นปลาพื้นเมืองของไทยที่นิยมเพาะเลี้ยง มาตั้งแต่โบราณ
เป็นเวลาหลายร้อยปีมาแล้ว ทั้งเพื่อไว้ดูเล่น และเพื่อกีฬากัดปลาและเป็น
ที่รู้จักกันดีในต่างประเทศมานานเช่นกัน ได้มีการนำปลากัดไปเลี้ยงในยุโรป
ตั้งแต่พ.ศ. 2414 ได้นำไปทำการเพาะเลี้ยง กันอย่างกว้างขวาง
และเพาะได้สำเร็จที่ ประเทศผรั่งเศส เมื่อปี พ.ศ. 2436 |
|
|
|
.
. . ปัจจุบันประเทศไทยมีการเพาะพันธุ์กันแพร่หลาย
เนื่องจากเป็นปลาที่เลี้ยง และเพาะพันธุ์ได้ง่าย ปีหนึ่งประเทศไทยส่งปลากัดไปขายยังต่างประเทศ
คิดเป็นมูลค่าหลายล้านบาท ปลากัดพันธุ์ดั้งเดิมใน ธรรมชาติ
มีสีน้ำตาลขุ่นหรือสีเทาแกมเขียว ครีบและหางสั้น ปลาเพศผู้มีครีบและหางยาว
กว่าเพศเมียเล็กน้อย |
|
|
|
. . . จากการเพาะพันธุ์และการคัดพันธุ์ติดต่อ
กันมานานทำให้ได้ปลากัดที่มีสีสันสวยงามหลายสี อีกทั้งลักษณะครีบก็แผ่กว้างใหญ่สวยงามกว่า
พันธุ์ดังเดิมมากและจากสาเหตุนี้ทำให้มีการ จำแนกพันธุ์ปลากัดออกไปได้เป็นหลายชนิด
เช่น ปลากัดหม้อ ปลากัดทุ่ง ปลากัดจีน ปลากัดเขมร ปลากัดพม่า
เป็นต้น |
. . . เนื่องจากปลากัดเป็นปลาขนาดเล็ก
เจริญเติบโตดีในภาชนะแคบ ๆ และในการเลี้ยง ไม่ต้องใช้เครื่องช่วยเพิ่มออกซิเจนในน้ำ
จึงเป็นที่นิยม นำมาใช้เป็นสัตว์ทดลองในห้องปฏิบัติการ |