|
วิธีการเลี้ยง
|
|
|
|
|
|
 |
|
|
|
. . . . เนื่องจากปลากัดเป็นปลาที่มีนิสัยก้าวร้าว
ชอบต่อสู้เมื่อปลาอายุประมาณ 1.5 - 2 เดือนดังที่กล่าวมาแล้ว
การเลี้ยงปลากัดจึงจำเป็นต้องรีบแยก ปลากัดเลี้ยงในภาชนะเช่น
ขวดแบนเพียงตัวเดียว ก่อนที่ปลาจะมีพฤติกรรมต่อสู้กัน
หากแยกปลาช้าเกินไปปลาอาจจะบอบช้ำไม่แข็งแรงหรือพิการ
ได้
|
เนื่องจาก ปลากัดกันเอง
ควรจะแยกปลากัดเลี้ยงเดี่ยว ๆ ทันทีที่สามารถแยกเพศได้ ซึ่งเมื่อลูกปลามีอายุประมาณ
1.5 - 2 เดือน จะสังเกตเห็นว่า ปลาเพศผู้จะมีลำตัวสีเข้ม
ครีบยาว ลายบนลำตัวมองเห็นไม่ชัดเจน และขนาดมักจะมีโตกว่าเพศเมีย
ส่วนปลาเพศเมีย จะมีสีซีดจาง มีลายพาดตามความยาวของลำตัว
2 - 3 แถบ และมักจะมี ขนาดเล็กกว่าปลาเพศผู้ ภาชนะที่ใช้เลี้ยงปลากัดควรเป็นภาชนะขนาดเล็กที่
ไม่สิ้นเปลืองเนื้อที่มีช่องเปิดไม่กว้างมาก เพื่อป้องกันปลากระโดดและป้องกันศัตรูของปลา
เช่น แมว จิ้งจก ฯลฯ |
|
. . . . ภาชนะที่เหมาะสมที่สุดที่ควรนำมา
ใช้ในการเลี้ยงปลากัดได้แก่ ขวด(สุรา) ชนิดแบน บรรจุน้ำได้
150 ซีซี. เพราะสามารถวางเรียงกันได้ดีไม่สิ้นเปลือง เนื่อที่
และปากขวดแคบ ๆ สามารถป้องกันปลากระโดดและป้องกันศัตรูได้เป็นอย่างดี
และหากมีเนื้อที่น้อยก็สามารถทำชั้นวางขวดปลากัดเป็นชั้น
ๆ แบบขั้นบันไดได้ มีผู้พยายามคิดวิธีเลี้ยงปลากัดในภาชนะขนาดใหญ่
โดยมีตาข่ายเหล็ก ตาข่ายพลาสติก หรือแผ่นอลูมิเนียมเจาะรูกันเป็นช่อง
ๆ เพื่อเลี้ยงปลากัด ช่องละ 1 ตัว ซึ่งเป็นการสะดวกและประหยัดเวลาในการถ่ายเทน้ำ
แต่ทั้งนี้ช่องตาข่ายต้องไม่กว้างมากจนทำให้ปลากัดกันได้
และต้องระวังอย่าให ปลากระโดดโดยอาจใช้ตาข่ายครอบ ด้านบนอีกทีหนึ่ง
|
. . . . สถานที่วางภาชนะเลี้ยงปลากัดควรเป็นที่
ๆ อากาศถ่ายเทได้ดีในฤดูร้อน เนื่องจากอากาศร้อน จะทำให้อุณภูมิน้ำสูงเกินไปเป็นสาเหตุให้ปลากัดตายได้
( อุณหภูมิน้ำไม่ควรเกิน 30 องศาเซลเซียส) ส่วนในฤดูหนาว
อุณภูมิน้ำที่ต่ำกว่า 20 องศาเซลเซียส ก็ทำให้ปลากินอาหารน้อย
หรือไม่กินอาหารเลย เป็นสาเหตุให้ปลาตายได้เช่นกัน น้ำที่ใช้เลี้ยงปลากัดต้องเป็นน้ำที่สะอาดปราศจากคลอรีน
มีความเป็นกรด - ด่าง(pH) ประมาณ 6.5-7.5 หลังจากทำความสะอาดขวดแล้วควรบรรจุน้ำเพียง
3/4 ขวด เพื่อเว้นช่องว่างให้อากาศให้สัมผัสกับผิวน้ำ และปลากัดสามารถขึ้นมาฮุบอากาศ
บริเวณผิวน้ำได้ เนื่องจากปลากัดสามารหายใจได้โดยการฮุบอากาศบริเวณผิวน้ำจึงไม่จำเป็นต้องใช้
เครื่องเพิ่มออกซิเจน |