.
. . เป็นปลาพื้นเมืองของไทย พบแพร่กระจายทั่วไปทุกภาคของประเทศไทย
อาศัยอยู่ในอ่างเก็บน้ำ ทะเลสาบ หนอง บึง แอ่งน้ำ
ลำคลอง ฯลฯ ในบริเวณที่มีระดับน้ำตื้น ๆ น้ำค่อนข้างใส
น้ำนิ่งหรือไหลเอื่อย ๆ มีพันธุ์ไม้น้ำขึ้นประปรายชอบว่ายน้ำช้า
ๆ บริเวณผิวน้ำ
เป็นปลาที่มีขนาดเล็ก ลำตัวยาว
แบนข้าง หัวเล็ก ปากขนาดเล็กเชิดขึ้นด้านบนเล็กน้อย
มีฟันที่ขากรรไกรบน และขากรรล่าง มีเกล็ดปกคลุมหัวและลำตัว
ความยาวจาก ปลายจงอยถึงโคนหางยาว 2.9 - 3.3 เท่าของความกว้างลำตัว
และ 3.0-3.3 เท่าของความยาวหัว จุดเริ่มต้นของครีบหลังอยู่ค่อนไปทางด้านหาง
หลังจุดเริ่มต้นของครีบก้น ครีบหลังมีก้านครีบเดี่ยว
1-2 ก้าน ก้านครีบแขนง 7-9 ก้าน ครีบก้นมีฐานครีบยาวมาก
เริ่มจากครีบท้องไปสุดที่โคนครีบ หาง มีก้านครีบเดี่ยว
2-4 ก้าน และก้านครีบแขนง 21-24 ก้าน ครีบอกมีขนาดเล็กกว่าครีบอื่น
ๆ ปลากัดไม่มีเส้นข้างตัว กระดูกที่อยู่ด้านหน้าของตา
( Preorbital ) มีขอบเรียบ
มีอวัยวะพิเศษช่วยในการหายใจนอกจากเหงือก
เรียก Labyrinth organ อยู่ในโพรงอากาศหลังช่องเหงือก
มีลักษณะ เป็นเนื้อเยื่อที่มีรอยยักและมีเส้นเลือดฝอยมาหล่อเลี้ยงมากมาย
แต่ในปลาวัยอ่อนจะไม่พบอวัยวะช่วยหายใจดังกล่าว
จะเริ่มเกิดเมื่อปลามีอายุ 10 วัน จากการที่ปลากัดต้องใช้อวัยวะช่วยในการหายใจ
ทำให้ปลาต้องโพล่ขึ้นมาฮุบอากาศที่ผิวน้ำเสมอ และจากสาเหตุนี้ทำให้ปลากัดสามารถอยู่ในน้ำที่ไม่มี
ออกซิเจนได้
|